วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บรรณานิทัศน์ หนังสือ


   เรื่อง  หัวใจห้องที่ห้า.


อังคาร จันทาทิพย์. (2556). หัวใจห้องที่ห้า. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
            ผจญภัยสำนักพิมพ์.
               บรรณานิทัศน์ : หัวใจห้องที่ห้า นำเสนอเรื่องเล่าโดยจำลองวิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งชุมชนจนถึงสังคมร่วมสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเมือง ซึ่งประกอบไปด้วย คนไร้บ้าน คนพลัดถิ่น คนกลุ่มน้อย โดยเชื่อมโยงเรื่องเล่าในอดีตกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งล้วนระทมทุกข์ นำเสนอการปะทะสังสรรค์ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม

                          เรื่อง   เล่นแล่ แปลปราชญ์ (า).


สุนทร สุขสราญจิต(2555)เล่นแล่ แปลปราชญ์ (า).  กรุงเทพฯ: วิภาษา
           บรรณานิทัศน์ : "เล่นแล่ แปลปราชญ์ (า)" เล่มนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ และแง่คิดต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้ที่สนใจ ซึ่งได้รวบรวมขึ้นจากรายงานที่นิสิตรัฐศาสตร์ ปี 2 มหาวิทยาลัยพะเยา เขียนส่งผู้เขียนในรายวิชาปรัชญาและทฤษฎีการเมืองเบื้องต้น ในปีการศึกษา 2553 และ 2554           
  
                                    เรื่อง เจ้าหงิญ.

บินหลา สันกาลาคีรี. (2548). เจ้าหงิญ. กรุงเทพฯ : มติชน.
          บรรณานิทัศน์ : เจ้าหงิญเป็นรวมเรื่องสั้น 8 เรื่องอาจอ่านแยกกันเป็นเรื่องๆ แต่ด้วยการเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ทำให้เรื่องสั้นแต่ละเรื่องกลายเป็นเรื่องสั้นในเรื่องยาว เป็นนิทานซ้อนนิทานที่เรื่องต้นกับเรื่องท้ายมาบรรจบกันอย่างแนบเนียน ผู้ประพันธ์สร้างตัวละครหลากหลาย ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ แบบนิทานเปรียบเทียบที่อุดมด้วยสีสันรวมทั้งการเล่นคำ โดยเฉพาะชื่อ เจ้าหงิญที่สื่อความหลายนับ และอารมณ์ขัน มีลีลาภาษาที่รุ่มรวยด้วยโวหาร เร้าจินตนาการและความคิด 


                             เรื่อง   ความตายของสันติสุข


อังคาร จันทาทิพย์(2554). ความตายของสันติสุข.  กรุงเทพฯ :แพรว.
บรรณานิทัศน์ : เป็นหนังสือรวบบทร้อยกรอง เล่าเรื่องง่ายชัดเจน กระทบใจ สะเทือนใจสูง โดยกวีเข้าใจยิบยกเอาลิงชื่อ สันติสุข มาเป็นสื่อแสดงออกขบขันและรอยยิ้ม หวังให้สัตว์เป็นสื่อกลางแทนความรักความเข้าใจระหว่างคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ทั้งไทยพุทธ และไทยมุสลิม ชุมชนหมู่บ้านตำรวจทหาร-โจรก่อการร้าย ด้วยหวังและเชื่อว่าความสงบสุขจะบังเกิดขึ้นในดินแดนนั้นเสียที

                         เรื่อง ขอบฟ้าขลิบทอง 

ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา(2544). ขอบฟ้าขลิบทอง. พิมพ์ครั้งที่ 2.                    กรุงเทพฯ: ผีเสื้อ.
  บรรณานิทัศน์ : หนังสือเรื่อง ขอบฟ้าขลิบทอง   เป็นหนังสือที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นงานวรรณกรรมที่น่าอ่าน  มีคุณค่าทางศิลปวรรณกรรม   ครบถ้วนตามแนวทางของวรรณกรรมโลกหรือวรรณกรรมสากลมีเนื้อหาสาระที่แสดงออกถึงความริเริ่มสร้างสรรค์   ช่วยให้ผู้อ่านมีทัศนะต่อชีวิตและต่อโลกกว้างขึ้น  ได้รับความรู้ ความคิดอ่าน  ความบันเทิงทางศิลปะวัฒนธรรม   ปรากฏแจ้งใน หนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน


                 เรื่อง  สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า

นันทา วิทวุฒิศักดิ์(2536)สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า.  พิมพ์ครั้งที่ 2. 
กรุงเทพ: ดีดีบุ๊คสโตร์
บรรณานิทัศน์ : ในเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับสารนิเทศเพื่อการค้นคว้า เริ่มตั้งแต่การทำความรู้จักความหมาย ความสำคัญ บทบาท คุณค่าของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ สารนิเทศสารสนเทศ การจัดเก็บ การสืบค้น เขียนรายงานทางวิชาการและการอ้างอิง รวมถึงการเขียนบรรณานุกรม อธิบายเนื้อหาโดยละเอียด พร้อมตัวอย่างหลากหลาย และแบบฝึกหัดท้ายบทสำหรับทบทวนความรู้ความเข้าใจไปพร้อมๆกันอีกด้วย


เรื่อง   เอกสารการสอนชุดวิชาการบริการและเผยแพร่สารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสุโททัยธรรมาธิราช(2550)เอกสารการสอนชุดวิชาการ                  บริการและเผยแพร่  สารสนเทศ.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  นนทบุรี
     มหาวิทยาลัยสุโททัยธรรมาธิราช
           บรรณานิทัศน์ : การบริการและเผยแพร่สารสนเทศ หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์และทำหน้าที่ในการบริการสารสนเทศ แหล่งช่วยค้นคว้าแลบริการสารสนเทศ ลักษณะพฤติกรรมของผู้ใช้ วิธีส่งเสริมการใช้บริการประเภทของบริการสารสนเทศ บทบาทการควบคุมบรรณานุกรม และยังมีการบริการสารสนเทศทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอีกด้วย


                 เรื่อง   บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า.

ยุพิน เตชะมณี.  (2522)บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าขอนแก่น:
         มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  บรรณานิทัศน์ : เป็นหนังสือตำราเบื้องต้น เพื่อแนะนำหนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆที่สำคัญ มีเนื้อหาทั้งหมด 14 บท ได้แก่ ลักษณะของงานบริการถามตอบ และช่วยค้นคว้าบริการห้องสมุด ประวัติบิการถามตอบ บรรณารักษ์ตอบคำถาม การประเมินงานบริการและช่วยค้นคว้า ขบวนการการให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า หนังสืออ้างอิง บรรณานุกรม ดรรชนีวารสาร พจนานุกรม สารานุกรม หนังสือรายปี สารนุกรมรายปี และสรุปข่าว อักขรานุกรมชีวประวัติ หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ หนังสือคู่มือและนามานุกรม

เรื่อง  เทคนิคการค้นคว้า การเก็บความและการเรียบเรียงข้อมูลเพื่อเขียนรายงานและผลงานทางวิชาการอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่เป็นรูปธรรม


วัลลภ สวัสดวัลลภ(2547).  เทคนิคการค้นคว้า การเก็บความและการเรียบ           เรียงข้อมูลเพื่อเขียนรายงานและผลงานทางวิชาการอย่างเป็นระบบ           และมีขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมพิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯบรรณกิจ             1991.

   บรรณานิทัศน์ : เทคนิคการค้นคว้า การเก็บความและการเรียบเรียงข้อมูลเพื่อเขียนรายงานและผลงานทางวิชาการอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่เป็นรูปธรรม เป็นหนังสือที่อ่านง่าย เข้าใจดี จึงใช้วิธีจำแนกขั้นตอนและจัดลำดับให้เห็นอย่างชัดเจนพร้อมตัวอย่างมากมายหลายรูปแบบ วงรูปแบให้เรียบง่าย แถมยังเป็นระบบและเอื้อต่อการจดจำ


         เรื่อง   ทรัพยากรสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า 
อาภาภร ธาตุโลหะ(2547).  ทรัพยากรสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า.                     ชลบุรี: พี เค กราฟฟิค พริ้นต์. 
           บรรณานิทัศน์ : ทรัพยากรสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า  ตำราเล่มนี้ได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนวิชาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า อันเป็นวิชาพื้นฐานการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งผู้เขียนเจตนาที่จะให้ผู้เรียนได้รู้จักวิธีศึกษาค้นคว้าจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีระบบ เพื่อประโยชนในการศึกษาตลอดชีวิต  และในการพิมพ์ครั้งนี้ผู้เขียนได้ปรับปรุงเนื้อหาทุกบทให้ทันสมัย โดยเฉพาะ บทที่ 2 บทที่ 4 และบทที่ 5 ได้เพิ่มเรื่องแหล่งทรัพยากรสารสนเทศประเภทข่ายงานคอมพิวเตอร์ การค้นสนเทศจากอินเตอร์เน็ต วัสดุอ้างอิงประเภทซีดีรอมและวิธีการค้นสนเทศจากซีดีรอม 

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

วิเคราะห์เรื่องสั้น เรื่องบ้านเกิด

วิเคราะห์เรื่องสั้น เรื่องบ้านเกิด
 โครงเรื่อง
              เรื่องบ้านเกิดเป็นโครงเรื่องแบบใหม่  เนื่องจากจะไม่เน้นความสำคัญ  และความสัมพันธ์ของลำดับเหตุการณ์   แต่จะเน้นที่พฤติกรรม  และสภาพความรู้สึกนึกคิดของตัวละครเป็นสำคัญ การเริ่มเรื่องหรือการเปิดเรื่อง  เรื่องบ้านเกิดผู้เขียนใช้กลวิธีในการเปิดเรื่องโดยการใช้คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ   แบบถามเองตอบเองของตัวละคร ฉัน
ทำไมฉันจะจำเธอไม่ได้  ปรียา  ในเมื่อเธอคือความทรงจำซึ่งฉันพยายามลืมให้สนิทที่สุดในบรรดาความทรงจำทั้งหลายเกี่ยวกับบ้านเกิด  ปรียา... เธอเคยได้ยินบ้างหรือเปล่า  ที่เขาพูดกันว่าชีวิตซิ่งผ่านไปคือฝันร้าย  ฉันรู้ว่าความโหดร้ายของมันอยู่ที่ความเป็นจริง  อดีตกำลังทำร้ายเรา  แม่เคยบอกฉันเสมอ-  จงลืมวันวานเพื่อเช้าวันนี้จะได้สดใส  แต่ใครเคยทำเช่นนั้นได้บ้างเล่า  แม้แต่แม่”  ( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด   หน้า45 )                                                                                                    
   การดำเนินเรื่อง  เรื่องบ้านเกิดผู้เขียนใช้กลวิธีในการดำเนินเรื่อง โดยการลำดับเรื่องแบบย้อนกลับ   เป็นการเล่าเรื่องย้อนหลังจากตอนจบเรื่องแล้วเริ่มเล่าเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้น ที่เกี่ยวพันกับปัญหาความขัดแย้งซึ่งเป็นจุดสำคัญของเรื่อง   ซึ่งกล่าวถึงครอบครัวของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่มีพ่อเป็นนักดนตรีและมีแม่เป็นครู  ต้องพลิกผันและประสบชะตากรรมอันเลวร้ายก็เนื่องมาจากสงครามนี้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรัก  ความสัมพันธ์ระหว่างญาติมิตร  สงครามทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด  เสียงแซ็กโซโฟนของพ่อที่เคยร้อยรัดหัวใจของคนทั้งหมู่บ้านเอาไว้กลายเป็นเสียงปืน  ความรักกลายเป็นการกระทำผิดบาปซึ่งกันและกัน การจบเรื่องหรือการปิดเรื่อง  เรื่องบ้านเกิดผู้เขียนจบเรื่องแบบชีวิตจริงหรือแบบที่ให้ผู้อ่านคาดเดาเหตุการณ์เอง  เป็นการจบเรื่องโดยที่ผู้เขียนไม่ได้สรุปหรือบอกกล่าวโดยตรง  แต่ผู้อ่านจะต้องคิดเองตามทัศนะของแต่ละบุคคล  มีการใช้คำพูดเน้นเสียงหนัก  ที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ตื่นเต้นและเข้มข้นสะเทือนใจในตอนจบเรื่อง
 แนวคิดหรือแก่นเรื่อง  เรื่องบ้านเกิดมีสาระสำคัญที่ผู้เขียนตั้งใจเสนอให้ทราบคือ     แสดงถึง  ปัญหาของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และสังคม นำเสนอชีวิตหลากหลาย ด้วยแนวธรรมชาตินิยม สะท้อนความคิด ความเชื่อ คุณค่าและคตินิยมพื้นถิ่นอย่างลึกซึ้งและแหลมคม ให้เห็นว่า แม้ในสังคมที่ต่างวัฒนธรรม ต่างความเชื่อ มนุษย์ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยไมตรีสัมพันธ์
 ตัวละคร  ตัวละครประกอบ  เป็นตัวละครที่ช่วยในการดำเนินเรื่อง  ได้แก่  ปรียา  พ่อ  แม่  พี่ชาย ครูสว่าง  ตัวละครที่ปรากฏชื่อแต่ไม่ปรากฏการกระทำ  มีเพียงตัวละครอื่นในเรื่องกล่าวถึง  ได้แก่  ครูเจริญ   ครูอารมณ์   ครูอ่ำ   ครูเตือนใจ   ผู้ใหญ่ถวิล   ลุงเกตุ   นายช้วน   น้าชัย   ยายแฟง ทหารสี่ห้านาย  
ฉากและบรรยากาศ ในเรื่องบ้านเกิดผู้เขียนบรรยายภาพของสถานที่ต่าง ๆ อย่างละเอียด  ทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับสถานที่นั้น ๆ อย่างละเอียดชัดเจน  มีการใช้คำบอกให้ผู้อ่านทราบสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ของเรื่องไว้อย่างชัดเจนตัวอย่างเช่น    ที่บ้าน --- ฉันต้องพูดแบบนี้จริง ๆ ด้วยละ ”  ( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  46  )
        เป็นการบอกให้ทราบว่าฉากของเรื่องในตอนนี้คือที่บ้าน   และนอกจากนี้บรรยากาศในเรื่องจะเปลี่ยนไป อารมณ์ของตัวละคร  บรรยากาศแสดงสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสังคมชนบท  ตัวอย่างเช่น  กลางคืนที่ทั้งบ้านสว่างไสวได้  คืนที่มีคนมาอออยู่เต็มลานหน้าบ้าน  ไล่หมาให้ไปหอนกันอยู่กลางทุ่งนา ” ( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  56  )
 กลวิธีในการเขียน กลวิธีการเล่าเรื่อง  ในเรื่องบ้านเกิดผู้เขียนเล่าเรื่องแบบมุมมองของผู้เล่าเรื่องปรากฏตัวในฐานะตัวละครในเรื่อง   โดยที่ผู้เล่าเรื่องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่อง  ผู้เล่าเรื่องแทนตัวเองด้ยการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 คือ  ฉัน”  เป็นตัวละครเอกของเรื่อง  ทำหน้าที่เล่าเหตุการณ์ที่ได้ประสบ  มาให้ผู้อ่านได้ทราบ
 สำนวนภาษา  - ประโยคที่ใช้ส่วนใหญ่ผู้เขียนเรียบเรียงอย่างประณีต มีความไพเราะในด้านของเสียง แต่ก็ไม่ละทิ้งการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา
                  - ในเรื่องบ้านเกิดมีการใช้โวหารภาพพจน์หลายชนิดทำให้สำนวนภาษามีความไพเราะ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านเกิดภาพและอารมณ์คล้อยตาม 

ประวัติผู้เขียน

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ : นายวัชรินทร์  ธงพันษา
ชื่อเล่น : เดียว เกิดวันที่ : 25 สิงหาคม 2536 อายุ 22 ปี เลือดกรุ๊ป: โอ
สัญชาติ : ไทย   เชื่อชาติ: ไทย ศาสนา: พุทธ
เบอร์โทรศัพท์  ------
ภูมิลำเนา :  บ้านเลขที่ 61 หมู่ 2 ตำบลแก้วแสน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีฯ
ที่อยู่ปัจุบัน : บ้านเลขที่ 40/2212 หมู่ 13 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 3
กิจกรรมยามว่าง : ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์

คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน

สารคดี: เรื่องการดินทางสู่วัดหัวลำโพง


การเดินทางสู่วัดหัวลำโพง

วัดหัวลำโพง  แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดวัวลำพอง เป็นวัดราษฎร์ ที่ไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง แต่คาดว่าคงสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ทั้งนี้โดยอาศัยการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ด้านหลัง ซึ่งสร้างคู่กันมา ความเป็นมาของวัดนี้ มีผู้รู้ประมวลไว้ โดยอาศัยจากการเล่าต่อๆ กันมาว่า ในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายเผาผลาญบ้านเมือง ประชาชนเสียขวัญและได้รับความเดือดร้อน บางพวกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ถิ่นเดิมต่อไปได้ จึงพากันอพยพครอบครัว ลงมาทางใต้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบัน เห็นว่าเป็นทำเลที่ เหมาะ ยังไม่มีเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ มีลำคลองเชื่อมโยงสะดวกต่อการสัญจรไปมา จึงได้ตั้งหลักฐานและจับจองที่ดิน นานปีเข้าต่างก็มีหลักฐานมั่นคงเป็นปึกแผ่นทั่วกัน ต่อมาจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นตามวิสัยชาวพุทธ และให้ชื่อว่า วัดวัวลำพอง ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือจากสถานีกรุงเทพฯ ขึ้นไปบริเวณนอกเมืองใกล้กับคูเมืองชั้นนอกคือคลองผดุงเกษม พระราชทานนามว่า สถานีหัวลำโพง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพอง ประมาณ ๒ กิโลเมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐิน 3 วัด คือ วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) วัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒาราม) และวัดวัวลำพอง (วัดหัวลำโพง) และทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดหัวลำโพง ซึ่งเป็นนามมิ่งมงคลเป็นอย่างมาก ปัจจุบันทางวัดเปิดให้ประชาชนทั่วไป มาทำบุญโลงศพ และไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกวัน


 














นอกจากนี้ยังมีการทำบุญบริจาคให้อาหารและการไถ่ชีวิตโคกระบือ อีกด้วย



เมื่อมาวัดนี้การทำบุญหนึ่งที่เป็นที่รู้จักนั้นก็คือ การทำบุญซื้อโลงศพ ให้แก่ศพไม่มีญาติ ซึ่งการบริจาคโลงศพนั้น เชื่อกันว่าจะได้อานิสงส์แรง จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆและผ่อนหนักเป็นเบาได้  ราคาของโลงศพที่รับบริจาคนั้น ราคาโลงละ 500 บาท แต่หากไม่อยากทำทั้งโลง หรือเกินแก่กำลังก็สามารถบริจาคได้ตามกำลัง และสมัครใจ


เมื่อเข้ามาแล้วจะพบกับโต๊ะเรียงเป็นแนวยาว กับพนักงานของทางมูลนิธิที่คอยให้บริการอยู่ครับ ให้เราเดินเข้าไป แจ้งว่าจะทำบุญโลงศพ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ครับ
เขียนชื่อ-นามสกุลลงในกระดาษสีชมพูแผ่นเล็กครับ และให้เงินกับเจ้าหน้าที่ตามที่เราต้องการบริจาคครับ

เจ้าหน้าที่จะออกใบประมาณว่าเป็น ใบอนุโมทนาบุญ ให้เราเก็บไว้ก่อนครับ แล้วนำกระดาษสีชมพูเดินเลี้ยวเข้ามาด้านในอาคารครับ


เมื่อเข้ามาด้านใน ก็จะมีจุดที่เป็นเคาน์เตอร์ สำหรับทากาวแป้งเปียกครับ ให้เราทาแป้งเปียกบนด้านหลังของกระดาษสีชมพูที่เขียนชื่อของเราครับ
เมื่อทาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นำกระดาษนั้นมาแปะที่โลงศพที่วางเรียงซ้อนกันไว้ครับ โลงไหนก็ได้ แล้วแต่เราครับ ยืนอธิษฐา อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับศพไม่มีญาติ และเจ้ากรรมนายเวร แล้วก็แปะไปได้เลยครับ 


เมื่อเราแปะกระดาษเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้จุดธูป 20 ดอก แล้วเดินเข้ามาในศาลเจ้าพ่อเขาตก ด้านข้างของมูลนิธิ และไหว้พระไหว้เทพเจ้าต่างๆภายในศาลให้ครบครับ โดยปักธูปกระถางละ 3 ดอก เป็นจำนวน 6 กระถาง อีกสองดอกนั้น ปักที่กระถางหน้าทางเข้าศาลเจ้า ข้างละดอกครับ ซึ่งภายในศาลนั้นจะมีป้ายบอกไว้ให้ไหว้และปักเรียงตามเบอร์ไปครับ ไหว้อธิษฐานเสร็จแล้วปักธูปให้ครบทุกจุดครับ







เสร็จแล้วให้นำ ใบอนุโมทนาบุญ ที่ได้รับมาตอนแรก มาที่ กระถางเผากระดาษ ที่โต๊ะด้านหน้าภาพบนครับ แล้วจะอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร วิญญาณไม่มีญาติ ฯลฯ เสร็จแล้วเผากระดาษใส่ลงไปในกระถางเผาได้เลยครับ เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ : วัดหัวลำโพง
ชื่อเดิม : วัดวัวลำพอง
ที่อยู่ : ถนนพระรามสี่ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
เบอร์โทร : 0-2233-8109

วิธีการเดินทางไปวัดหัวลำโพง (สายรถเมล์และสาย)  

รถเมล์ สาย 4, 21, 25, 34, 40, 46, 67,            73, 109, 113
รถเมล์ปรับอากาศยสาย 
ปอ.4,ปอ.17,ปอ.29, ปอ.67
รถไฟฟ้า BTS ลงสถานี สยาม 
( ต้องนั่งรถเมล์ต่อ )
รถไฟฟ้าใต้ดิน ลงสถานีสามย่าน 
(ถึงเลย)